06 กรกฎาคม 2561

เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพกองทุนประกันสังคม

ผมจะเล่าเรื่อง #เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพกองทุนประกันสังคม สักนิด! ตั้งแต่เค้าแจ้งเงินชราภาพเป็นตัวหนังสือไปถึงมือทุกคนเมื่อเดือนที่แล้ว ทำเอาเพื่อนผมหลายคนตกใจ เพราะเพิ่งแจ้งเป็นครั้งแรกนับแต่ก่อตั้งประกันสังคม หลายคนถามว่าไปรับเงินคืนเลยได้ไหม เพื่อนๆใช้เวลาอ่านแค่ 5 นาที จะจำได้ไปอีกนาน.... เอาสั้นๆ น่ะ #เจ็บคอ
#บำเหน็จ กับ #บำนาญชราภาพ
.
1.คนที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 31 ธค.41 จะได้เงินบำเหน็จบำนาญทุกคน
.
2.ใครจะได้บำเหน็จ ใครจะได้บำนาญ ขึ้นอยู่กับ #จำนวนงวด ของการส่งเงินสมทบ ถามว่าเลือกได้หม้าย ตอบว่า #เลือกไม่ได้
.
3.คนที่ส่งเงินสมทบ 1-179 งวด #ได้เงินบำเหน็จ (เงินก้อนคราวเดียวเลิกกัน ตอนแก่ตัวใครตัวมัน)
.
4.คนที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 งวดขึ้นไป #ได้เงินบำนาญ (เงินรายเดือนตลอดชีวิต)
.....
......
180 งวด #มาจากไหน
ทุกเดือนที่นำส่งเงินสมทบจะนับให้ 1 งวด ไม่ว่าจะต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่อง ขาดบ้าง ส่งบ้าง ไม่เป็นไร เอาใส่เข่งรวมๆ มานับกัน #ตอนชรา
.....
..........
ได้รับบำเหน็จบำนาญ #เมื่อใด
มี 2 เงื่อนไข #ย้ำว่าต้อง2เงื่อนไข
1.ออกจากงาน
2.อายุเกิน 55 ปี
ถามว่า #ออกจากงานแล้ว แต่อายุไม่ถึง 55 ปี เบิกได้ไหม ตอบ เบิกไม่ได้
ถามว่า #อายุเกิน 55 ปีแล้ว แต่ยังทำงานอยู่ เบิกได้ไหม ตอบ เบิกไม่ได้
แล้วถามว่าแจ้งมาทำไหรตอนนี้
ตอบว่า #แจ้งเพื่อทราบ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า #ชราภาพ เพราะงั้นต้องชราๆๆแต่ชราของประกันสังคมเริ่มที่ 55ปี
....
........
สมมุติ ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างต่อเดือนเกิน 15,000 บาทมาตลอด ออกจากงานตอนเกษียณอายุ 60 ปี ส่งเงินสมทบมาทั้งสิ้น 35 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี หลังจากรับบำนาญจะได้อะไร
1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ คำนวณดังนี้
= 15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%
= 20 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ทุกรอบปี) × 20 ปี ) = 30%
รวมอัตราเงินบำนาญ 35 ปี = 20% + 30% = 50%
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน
= 50% ของ 15,000 บาท
= 7,500 บาท/เดือน #ตลอดชีวิต

2. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้วเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
= 7,500 บาท × 10 เท่า
= 75,000 บาท
.....
....
ถามต่ออีกว่า บำเหน็จกับบำนาญ อะไรคุ้มกว่ากัน ผมขอบอกเลยว่า #บำนาญคุ้มที่สุด
ผมไม่เล่าตามหลักวิชาการนะครับฟังแล้วเวียนหัว ขอเล่าตาม #หลักเศษฐศาตร์ก็แล้วกัน เข้าใจง่ายดี
#ตัวอย่าง
ถ้าประกันตนข้างต้นอายุยืนสัก 85 ปี และรับบำนาญตั้งแต่อายุ 60 ปี มาคำนวณกันว่า
#เค้าจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมกี่บาท
#แล้วกองทุนฯ ต้องจ่ายคืนกี่บาท
1.ผู้ประกันตนคนนี้จ่ายเงินเข้ากองทุนเท่าใด มาคิดกัน
เอา 750 คูณ 12 (เดือน) คูณ 35 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 315,000 บาท
2.คนนี้รับเงินชราภาพจากกองทุนฯ เป็นเงินกี่บาท
เอา 7,500 คูณ 12 (เดือน) คูณ 25 ปี ได้เท่ากับ 2,250,000 บาท (สองล้านสองแสนห้าหมื่นบาท)
3. ถ้าคนๆ เดิมอายุยืนยาวซัก 90 ปี รับบำนาญรวม 2,700,000 บาท (สองล้านเจ็ดแสนบาท)
4. ถ้าคนๆเดิมอายุสั้นแค่ 67 ปี รับบำนาญรวม 630,000 บาท
5.ถ้าคนๆเดิมอายุสั้นแค่ 63 ปี ได้เงิน 270,000 + 75,000 บาท = รับบำนาญ+บำเหน็จตกทอดรวม 345,000 บาท
6.ถ้าคนนี้ตายก่อนมีสิทธิรับบำนาญจะจ่ายเป็นบำเหน็จให้ #ทายาทตามกฎหมาย พร้อมเงินปันผล
นี่คือ 1 ใน 7 ของสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม เท่านั้น ยังมีอีก 6 กรณี เช่น ค่ารักษาพยาบาล เจ็บป่วย ค่าทันตกรรม ฟันเทียม ค่าคลอดบุตร ค่าหยุดงานเพื่อการคลอด เงินสงเคราะห์บุตร เสียชีวิต เงินสงเคราะห์การเสียชีวิต เงินทุพพลภาพ เงินว่างงาน แล้วเอาเงินที่ไหนมาจ่ายสิทธิประโยชน์เหล่านี้ อันนี้ในหลักกฎหมายเงิน 750+750 จะถูกนำมาแบ่งย่อย เพื่อจ่ายสิทธิประโยชน์เหล่านี้ โดยเฉพาะเงินบำเหน็จบำนาญจะแบ่งไว้ที่ (3%) 450+450 ต่อเดือนเท่ากับว่าเรามีเงินชราภาพ 900 บาท /ต่อเดือน และ10,800 บาท/ปี
....เงินที่แจ้งในหนังสือนั้นสำหรับผู้ที่รับบำเหน็จชราภาพเท่านั้น (ส่งเงินไม่ถึง180งวด)
ส่วนคนรับบำนาญจะได้ตามตัวอย่างที่คำนวณข้างต้น #ใครที่คิดว่าบำเหน็จดีกว่า เป็นการคิดในช่วงสั้นๆ ไม่ได้มองระยะยาว...hotline 1506

21 มิถุนายน 2561

AEC RCEP TPP บนความเสี่ยงของภาคปศุสัตว์ไทย จะรุ่งโรจน์ หรือ ล่มสลาย

    
    ประเด็นร้อน Trans-Pacific Partnership ที่ผู้เลี้ยงสุกรไทยพลาดไม่ได้ เพราะ NPPC ต้องการให้ผ่านคองเกรส เพื่อครอบครองการค้าเนื้อสุกรทั่วโลกให้ได้

     ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2558 ในวันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:30-15:30 น. ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร
“AEC RCEP TPP บนความเสี่ยงของภาคปศุสัตว์ไทย จะรุ่งโรจน์ หรือ ล่มสลาย” โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเมือง
เจาะลึกในประเด็น :- 
การเกิดของเขตการค้าเสรีของโลก และจุดเริ่มต้นของการเปิดเสรีการเกษตร
การเจรจาการค้าของโลกหลังเกิด WTO สาเหตุที่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจหันมาจับกลุ่มหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจและสร้างกฎเกณฑ์และมาตรฐานกันเอง
ไทยได้เปรียบหรือเสียเปรียบหลังการเกิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA
แนวโน้มการเติบโตของอาเซียนในสายตาของนานาประเทศ อนาคตและโอกาสของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเวทีโลก
แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง CLMV กับโอกาสของไทยที่ต้องเตรียมตัว
ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจ และดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจโลก และประเทศมหาอำนาจชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น และภาพเศรษฐกิจของประเทศจีนในอนาคต ที่จะชี้นำอนาคตของ RCEP
จะเกิดอะไรขึ้นในเวทีโลก ถ้าไทยเดินหน้า RCEP และไม่เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก TPP
TPP กับมิติที่แอบแฝงทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการสกัดกั้นจีนในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในแถบเอเชียแปซิฟิก
โอกาสและแนวโน้มของรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาที่จะให้การรับรอง TPP
และประเด็นเจาะลึกอีกมากมายตามสไตล์ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ที่มา : สมาคมผู้เลี่ยงสุกรแห่งชาติ